ลาเต้ อาร์ต
ดังที่เกริ่นหัวข้อเอาไว้ เชื่อว่าหลายคนอาจเกิดข้อสงสัยกับคำว่า “ลาเต้” (Latte) ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ไม่ได้เป็นชนิดของกาแฟอย่างที่เข้าใจกัน แต่มีความหมายในภาษาอิตาลีว่า “นม” หากใครเดินทางไปประเทศนี้แล้วพลาดท่าสั่งกาแฟว่าลาเต้ล่ะก็ แน่นอนว่าแทนที่จะได้กาแฟรสนุ่มๆ แต่กลับได้เป็นนมสดร้อนมาแทน ลาเต้จึงเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของกาแฟ ต่างประเทศจะเข้าใจคำนี้ในฐานะของกาแฟใส่นม เวลาต้องการสั่งจะเรียกกันว่า “caffè e latte” หรือ “café au lait” ที่มาจากภาษาฝรั่งเศษ ส่วนคำว่า Latte เป็นการย่อคำให้สั้นลง แต่เข้าใจตรงกันว่าเป็นกาแฟผสมนมนั่นเอง
ก่อกำเนิด Latte Art สู่ศิลปะของการทำกาแฟ
Latte Art ถูกสร้างสรรค์ขึ้นครั้งแรกในประเทศอิตาลี ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีความโด่งดังในเรื่องการชงกาแฟเป็นอย่างมาก ศิลปะในแก้วกาแฟได้รับความนิยม เช่นเดียวกันกับเหล่าบาริสต้าที่ได้รับยกย่องให้เป็นอาชีพอันทรงเกียรติ
ส่วนการทำ Latte Art จะมีด้วยกัน 3 รูปแบบคือ
1.แบบ Free pour หรือการเทแบบอิสระ เป็นวิธีที่บาริสต้าจะต้องมีความชำนาญในการวาดลวดลายลงบนกาแฟ ความนิ่ง จดจ่ออยู่กับงาน มีสมาธิและความอดทนสูง ซึ่งจะเป็นการเทนมลงในกาแฟเอสเปรสโซ่ให้เป็นลวดลายต่างๆ ที่สวยงาม
2.แบบ Drag เป็นการลากนมในถ้วย หยอด หรือเขี่ย เป็นวิธีที่ไม่ยาก เพราะไม่ต้องใช้เทคนิคมากมาย อุปกรณ์หลักมีเพียงถ้วยกาแฟเอสเปรสโซ่ และนม ส่วนอื่นเพิ่มเติมเข้ามาคือแท่งคอกเทลหรือไม้จิ้มฟันสำหรับใช้ลาก
3.แบบผสม เป็นเทคนิคที่นำเอาการเทนมและการลากมาผสมเข้าด้วยกัน ช่วยให้ได้ลวดลายที่มีความซับซ้น สร้างลายที่ยากขึ้น แต่ต้องใช้ความรวดเร็วและชำนาญเป็นพิเศษ เพื่อให้กาแฟยังคงร้อนก่อนเสิร์ฟถึงมือลูกค้า
นอกจากนี้ฟองนมยังเป็นส่วนประกอบสำคัญของกาแฟลาเต้ ช่วยสร้างสรรค์รสชาติที่น่าลิ้มลอง ละเมียดละไมและมีความนุ่มเป็นพิเศษ ซึ่งเคล็ดลับเพิ่มความอร่อยนี้คือการใช้ฟองนมที่เป็นนมโคแท้ๆ 100 เปอร์เซ็นต์ ผ่านการพาสเจอร์ไรต์มาเรียบร้อย ซึ่งมีปริมาณไขมันและโปรตีนสูง จึงให้รสชาติหอมมันมากกว่านมผสม เมื่อนำมาผ่านกระบวนการให้เป็นฟอง จะให้เนื้อที่มีความเนียนละเอียด ไม่หยาบกระด้างเป็นฟองขนาดใหญ่จนเห็นได้ชัด
สรุปแล้วควรทำความเข้าใจกับลาเต้ใหม่ เพราะมันไม่ได้มีความหมายว่ากาแฟ แต่คือนมที่ถูกนำไปเติมแต่งรสชาติให้กับกาแฟแก้วโปรด อีกทั้งยังถูกสร้างสรรค์ช่วยเปลี่ยนกาแฟสีน้ำตามเข้มธรรมดาให้ดูสวยงามด้วยการวาดลวดลายศิลปะที่น่าสนใจลงไปอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น